อายุ 15 ทำใบขับขี่ได้ไหม

ถาม ตอบ สนทนา เกี่ยวกับกรมการขนส่งทางบก ( DLT )
ตอบกลับโพส
แบรนเดอร์

อายุ 15 ทำใบขับขี่ได้ไหม

#1

โพสต์ โดย แบรนเดอร์ » จันทร์ ก.พ. 03, 2020 11:40 pm

ผมอายุ 15 สอบใบขับขี่ได้หรือเปล่าครับ ตามหัวข้อกระตู้เลยนะครับ ต้องสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ ทดสอบเหมือนทำใบขับขี่ตอนโตมั้ยครับ



แพลงต้อน

Re: อายุ 15 ทำใบขับขี่ได้ไหม

#2

โพสต์ โดย แพลงต้อน » จันทร์ ก.พ. 03, 2020 11:40 pm

การขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 2 ปี
คุณสมบัติ
-ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้นสำหรับรถจักรยานยนต์ความจุกระบอกสูบขนาดไม่เกิน 110 ซีซี ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์)
-มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
-มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
-ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
-ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
-ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
-ไม่มีใบอนุญาตขับรถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
-ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ



แพลงต้อน

Re: อายุ 15 ทำใบขับขี่ได้ไหม

#3

โพสต์ โดย แพลงต้อน » จันทร์ ก.พ. 03, 2020 11:41 pm

เพิ่ม

หลักฐานประกอบคำขอ
-บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)
-ใบรับรองแพทย์ไม่เกิน 1 เดือน (ใบรับรองแพทย์จากคลินิกสามารถนำมายื่นได้) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป ใบรับรองแพทย์จะต้องเป็นไปตามรูปแบบมาตรฐานที่แพทยสภารับรอง

อายุใบอนุญาต มีอายุ 2 ปี

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการขับรถมี 4 กลุ่ม ได้แก่
-ผู้ป่วยโรคลมชักที่ยังควบคุมอาการไม่ได้
-ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางสมอง
-ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน
-ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือผ่านการผ่าตัดหัวใจหรือขยาย เส้นเลือดหัวใจ
ซึ่งแพทย์ได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นความเจ็บป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถ ยกเว้นผู้ที่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์

กรณีทำบัตรครั้งแรกจองบัตรคิวทุกครั้ง

การอบรม กรณีขอใบอนุญาตครั้งแรก ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรในวิชาดังต่อไปนี้ เป็นเวลา 5 ชั่วโมง (บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป)
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก)
- การขับรถอย่างปลอดภัย
- จิตสำนึกและมารยาทในการขับรถ
- ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและการให้ความช่วยเหลือและการปฐมพยาบาล
***ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวที่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวมาแล้วและมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรจิตสำนึกและการขับรถอย่างปลอดภัยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง***

กรณีที่มีการอบรมภาคทฤษฎี , ทดสอบข้อเขียน , ทดสอบภาคปฏิบัติ จากหน่วยงานภายนอก จะต้องจองคิวผ่าน Application เพื่อดำเนินการออกใบอนุญาตขับรถจากกรมการขนส่งทางบก / สำนักงานขนส่ง
เงื่อนไข :
เอกสารการผ่านอบรมภาคทฤษฎีจากสถาบันภายนอก มีอายุ 6 เดือน
หลังจากที่ยื่นเอกสารการผ่านอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ขนส่งแล้ว จะต้องสอบข้อเขียนและสอบภาคปฎิบัติให้ผ่านภายใน 90 วัน (ถ้าสอบไม่ผ่านจะต้องไปอบรมภาคทฤษฎีใหม่)

หมายเหตุ
ในกรณีผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก จะมีเจ้าหน้าอ่านข้อสอบให้และให้ตอบปากเปล่า
ขั้นตอนและระยะเวลาในการขอรับใบอนุญาตในแต่ละสำนักงานขนส่งแต่ละเขตพื้นที่เวลาอาจคลาดเคลื่อนแล้วแต่ความเหมาะสม
การจำกัดจำนวนหรือโควตาในการทำใบอนุญาตขับรถแต่ละเขตจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสถานที่และความเหมาะสมของสำนักงานขนส่งแต่ละเขตพื้นที่
การขอใบอนุญาตขับรถ สามารถยื่นเรื่องและได้รับใบอนุญาต ประมาณ 2 วันทำการ

อัตราค่าธรรมเนียม
-ค่าคำขอ 5 บาท
-ค่าใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว 100 บาท ต่อ 2 ปี (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 เป็นต้นไป)
ยกเว้นค่าธรรมเนียมการถ่ายรูปแบบสมาร์ทการ์ด 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป
หากมีการแก้ไขรายการในใบอนุญาตขับรถ เสียค่าธรรมเนียม เพิ่ม 50 บาท

สถานที่ติดต่อ
ในเขตกรุงเทพฯ
- กรมการขนส่งทางบก (อาคาร 4 ชั้น 2)
- สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ 1 – 4
ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่
- สำนักงานขนส่งส่วนภูมิภาคของแต่ละจังหวัด ค่ะ



ตอบกลับโพส